กล้องวงจรปิดกับการรักษาความเป็นส่วนตัว Privacy

กล้องวงจรปิด อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยดูแลความปลอดภัยของเราทั้งตัวบุคคลและทรัพย์สิน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนากล้องวงจรปิดให้สามารถบันทึกได้ทั้งภาพและเสียงแถมยังดูภาพได้แบบ เรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชันในขณะที่คุณไม่อยู่ ในท้องตลาดก็มีกล้องวงจรปิดหลายแบบให้เราเลือกทั้งกล้องวงจรปิด IP Camera หรือกล้องวงจรปิดไร้สาย (Wireless CCTV) 

เนื่องจากระบบกล้องวงจรปิดปัจจุบันอาศัยอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อ ทำให้ต้องเสี่ยงโดนโจมตีทางไซเบอร์ วันนี้ช่างเสือเลยมีวิธีรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) มาแชร์กันครับ

กรณีใช้กล้องวงจรปิดไร้สาย (Wireless CCTV) 

โดยปกติกล้องวงจรปิดไร้สายจะตัวเล็กราคาไม่แพง โดยระบบของมันจะให้เราลงชื่อเข้าใช้เพื่อดูภาพของกล้องวงจรปิดได้อย่างเรียลไทม์ โดยส่วนมากรหัสที่ตั้งมาจากโรงงานมักจะเป็นรหัสที่ตั้งค่า default มาให้ง่าย เช่น 1111 ถ้าเราไม่เปลี่ยนจะเป็นช่องโหว่ให้คนอื่นเข้ามาแอบดูได้ เราจึงเป็นเป็นที่ต้องตั้งรหัสผ่านใหม่ให้ยากขึ้น แต่กล้องวงจรปิดไร้สายบางยี่ห้อ เช่น imou จะใช้วิธีผูกรหัสเชื่อมต่อด้วย QR Code ซึ่งถ้าทำตามขั้นตอนติดตั้งให้ครบถ้วนก็ถือว่าปลอดภัยในระดับหนึ่ง 

นอกจากนี้เราก็ควรจะอัปเดตซอฟต์แวร์ (Software) หรือเฟิร์มแวร์ และอัปเดตแอปพลิเคชันให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่อยู่เสมอ เพราะนอกจะทำให้ได้ฟีเจอร์ใช้งานใหม่ๆ ยังช่วยอุดช่องโหว่เรื่องความปลอดภัยอีกด้วย

กรณีใช้กล้องวงจรปิดมีสาย

อันดับแรกต้องเลือกติดตั้งกับช่างที่ไว้ใจได้ มีมาตรฐาน มีความเชี่ยวชาญ และปกติเมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเชื่อมต่อสัญญาณกับ WiFi ที่บ้านให้ตรวจสอบเราเตอร์ (router) ว่ามีเปิดใช้งาน UPnP อยู่หรือไม่ ซึ่ง UPnP นี้ก็คือเทคโนโลยีการส่งต่อพอร์ตเพื่ออนุญาตให้เราเตอร์ค้นหาอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในเครือข่ายของคุณ เพื่อความปลอดภัยไม่ให้คนนอกเข้ามาควรปิดไว้นะครับ

นอกจากนี้ตามพ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ระบุว่า เราจำเป็นต้องติดประกาศหรือสติกเกอร์ที่แจ้งให้บุคคลที่จะเข้ามาในสถานที่ทราบว่าเรามีการบันทึกและติดตั้งกล้องวงจรปิด ทั้งนี้ถ้าเราติดกล้องวงจรปิดที่บ้านไม่จำเป็นต้องติดประกาศก็ได้เพราะถึงว่าเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลครับผม 

อ่านวิธีปิด UPnP ของเราเตอร์ (router)  คลิก

ศึกษาพ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่เกี่ยวข้องกับกล้องวงจรปิด คลิก

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก https://bit.ly/2WioEmt